alternative

ศักยภาพที่จะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

ศักยภาพอีกด้านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่เชื่อว่า จะมีความเป็นไปได้สูงในการสร้างผู้ประกอบการใหม่นั่นคือภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเครื่องสำอาง ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูงและมีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล ด้วยจุดเด่นนี้เอง จะทำให้การเชื่อมโยงผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องสำอางกับการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่จะมีความเป็นไปได้สูงในเชิงพาณิชย์และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม (Innovation-based Economy) อันเป็นการตอบสนองนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” อีกทั้งอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศไทยนั้นมีการขยายตัวของตลาดสูงมาก และประเทศไทยเองก็เป็นศูนย์กลางธุรกิจความงามในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

1

นักศึกษา
1

องค์กรร่วม
1

โปรเจค
1

คอร์สอบรม

เกี่ยวกับเรา

จุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จ

มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อจัดตั้ง “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่” หรือ NC-UBI (North-Chiang Mai University Business Incubation) ให้เป็นหน่วยหนึ่งในการบ่มเพาะวิสาหกิจในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง โดยเชื่อมโยงผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยฯ กับโลกธุรกิจอุตสาหกรรม แล้วบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจกับศาสตร์ในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่หรือบริษัทจัดตั้งใหม่อย่างน้อย 2 รายที่พึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยฯ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมบ่มเพาะต่าง ๆ ของ NC-UBI เพื่อการพัฒนาไปพร้อมกัน ตลอดจนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนนำไปสู่การจัดตั้ง “ชมรมนักศึกษาผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ (NCU Student Entrepreneur Club)” ได้ในที่สุด นอกจากนั้น ยังแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างเครือข่ายพันธมิตรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและเสริมสร้างกัน

การจัดตั้ง

เริ่มต้นด้วยความเป็นมืออาชีพ

NC-UBI จัดตั้งขึ้นอยู่ภายใต้การบริหารงานของอธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ขึ้นตรงและประสานความร่วมมือกับสำนักวิจัยและบริการวิชาการ และกับคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ ซึ่งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดการบูรณาการศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ และเชื่อมโยงผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในอนาคตสู่กระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่หรือบริษัทจัดตั้งใหม่ อีกทั้งยังมีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ และมีผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดหาเงินทุน

alternative

ผสานศักยภาพ

เครือข่ายแห่งองค์ความรู้

ศักยภาพอีกด้านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่เชื่อว่า จะมีความเป็นไปได้สูงในการสร้างผู้ประกอบการใหม่นั่นคือ ภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเครื่องสำอาง ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช มโนสร้อย และ ศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา มโนสร้อย ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ โดยเป็นเจ้าของผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากหน่วยงานระดับประเทศอย่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นอกจากนั้นยังเป็นผู้บริหารศูนย์วิจัยสุขภาพและความงาม “มโน-เซ่” ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูงและมีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ในระดับสากล นอกจากนี้คณาจารย์ด้านบริหารธุรกิจที่มีผลงานวิจัยด้านการตลาดเครื่องสำอางค์ที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด ในระดับประเทศ ด้วยจุดเด่นนี้เอง จะทำให้การเชื่อมโยงผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องสำอางกับการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อสร้างผู้ประกอบการ

รูปแบบการดำเนินงานของ NC-UBI

รายละเอียดของระบบงาน


Team Work

ผู้เชี่ยวชาญของ NCUBI

เป็นคณาจารย์ในคณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะนิติศาสตร์ ตลอดจนผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ และจากภาคเอกชนต่างๆ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

  • 1 ศ.ดร.จีรเดช มโนสร้อย

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : Dr.rer.net.(Immunology)

    -ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยด้านสุขภาพและความงาม

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : วท.บ./วท.ม.(สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องสำอาง)

  • 2 ศ.ดร.อรัญญา มโนสร้อย

    - วุฒิการศึกษาสูงสุด : Doctor of philosophy in Industrial and Physical

    - ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยด้านสุขภาพและความงาม

    - อาจารย์ประจำหลักสูตร : วท.บ./วท.ม.(สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องสำอาง)

  • 3 รศ.ดร.พิธากรณ์ ธนิตเบญจสิทธิ์

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : D.B.A.

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการนวัตกรรม การบริหารการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาองค์การ

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA และ DBA

  • 4 อ.ดร.สุธีรา ศรีเบญจโชติ

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ การตลาด

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA และ DBA

  • 5 รศ.ดารณี ตัณฑวิเชษฐ์

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : M.B.A.

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ การบัญชี

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA และ DBA

  • 6 อ.ดร.ศิริพันธ์ จุรีมาศ

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : กจ.ด. (การจัดการธุรกิจ)

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ การบัญชี อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA และ DBA

  • 7 อ.ดร.พัชราภรณ์ ลิมปอังคนันท์

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)

    -ความเชี่ยวชาญ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การบัญชีบริหาร

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA และ DBA

  • 8 อ.ดร.สุกฤษฎิ์ ลิมโพธิ์ทอง

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชน

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : MBA

  • 9 อ.ดร.จตุพร วงศ์มหาดเล็ก

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : Ph.D. (Business Administration)

    -ความเชี่ยวชาญ : การบริหารธุรกิจ -อาจารย์ประจำหลักสูตร : DBA

  • 10 ผศ.สุรกิจ คำวงศ์ปีน

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : บช.ม.

    -ความเชี่ยวชาญ : การบัญชี การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : บช.บ.

  • 11 อ.ดร.สุรชัย สานติสุขรัตน์

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : วศ.ด. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

    -ความเชี่ยวชาญ : วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมคุณภาพและระบบ การจัดการอุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การลดต้นทุนการผลิต

    -อาจารย์ประจำหลักสูตร : วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

  • 12 อ.ดร.พันธุ์ทิพย์ นวานุช

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : น.ด. และ ปรด. (การบริหารการพัฒนา)

    -ความเชี่ยวชาญ : กฎหมาย -อาจารย์ประจำหลักสูตร : น.บ.

  • 13 ผศ.สุชาดา เมฆพัฒน์

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : กศ.ม. จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

    -ความเชี่ยวชาญ : การวิจัย -อาจารย์ประจำหลักสูตร : อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์

ผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน

  • 1 ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์

    นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงคนหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีบริษัทที่ต้องดูแลถึง 14 บริษัท (ในไทย 10 และในประเทศลาวอีก 4) จนได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการประกอบการ จากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่

    2 คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง

    กรรมการผู้จัดการกลุ่มภราดร กลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้เชี่ยวชาญจากภาคสถาบันการเงิน

  • 1 นายสุรชัย เปียงตั้ง

    -วุฒิการศึกษาสูงสุด : MPA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    -ประวัติการทำงาน : (ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย/SME Bank)

    - เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ

    - เจ้าหน้าที่สินเชื่อ

    - เลขาคณะกรรมการรับราคาประเมินหลักประกัน

    - เลขาคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อ ระดับ 3 และ 4

    - ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาฝ่ายการตลาด

    - ผู้จัดการโครงการ E-Ducument Custodian

    - ฝ่ายพิธีการสินเชื่อ

Course

หลักสูตรของ NC-UBI

“ ได้รับความรู้ที่สามารถนำไปปฎิบัติได้จริงครับ อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายกับเพื่อนๆและพี่ๆในการออกไปพบกับประสบการณ์การทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ”
TS

NC-UBI Event

กิจกรรมที่ผ่านมา


มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 21 พฤศจิกายน 2561

``จุดเปลี่ยน (ธุรกิจ) ... ประตูสู่โอกาสผู้ประกอบการยุคดิจิตอล``



มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 21 พฤศจิกายน 2561

``จุดเปลี่ยน (ธุรกิจ) ... ประตูสู่โอกาสผู้ประกอบการยุคดิจิตอล``



มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ห้องรัฐมนตรี วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2562

จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจในการเป็นเจ้าของธุรกิจ


มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ณ บริเวณใต้หอประชุมนานาชาติฯ วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563

How to เพาะและแปรรูปเห็ดนางฟ้าภูฎาน



6 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00-17.00 น. ผ่าน Microsoft Team

Digital Marketing


22 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ผ่าน Zoom

การพัฒนาระบบ MSME Scoring



มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ในวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่านทาง Microsoft Teams

การบรรยาย “Persuasive Communication” (การสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์)



2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่าน Microsoft Teams

Persuasive Communication (การสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์)



ผศ.สุรกิจ คำวงศ์ปีน ร่วมอบรมออนไลน์ “การบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญาและการประยุกต์ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์” . วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 น. - 16.30 น. ผ่าน Zoom โดยกองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม ม.บูรพา ร่วมกับ เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออก

การบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญาและการประยุกต์ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์


12 ต.ค. 2565 เวลา 13.30-16.30 น. ผ่าน Microsoft Teams

“ปั้นช่องให้ดัง สร้างยอดขายสุดปังด้วย TikTok”